ทำข้อสอบวัดระดับความรู้ เรื่อง วันคณิตศาสตร์โลก เพื่อรับเกียรติบัตรออนไลน์ ผ่าน Google Form
สวัสดีครับ วันนี้ผมขอนำกิจกรรมการทำข้อสอบวัดระดับความรู้ เรื่อง วันคณิตศาสตร์โลก เพื่อรับเกียรติบัตรออนไลน์ ผ่าน Google Form โดยเมื่อท่านได้ทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่ทางผู้จัดกิจกรรมได้กำหนดไว้ ท่านจะได้รับเกียรติบัตรเป็นไฟล์ PDF ดังภาพตัวอย่างที่ได้ทางผมได้นำมาแสดงให้ดูไว้ผ่านทาง Email ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ตอนทำแบบทดสอบครับ สามารถทำแบบทดสอบได้ที่ปุ่มทำแบบทดสอบด้านล่างเลยครับ

ความรู้วันคณิตศาสตร์โลก สรุปโดยพี่แอดมิน เพื่อใช้ทำแบบทดสอบ
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และชีวิตประจำวันของเราทุกคน หนึ่งในวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์คือ วันคณิตศาสตร์โลก (World Math Day) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี วันดังกล่าวถูกเลือกเพราะตรงกับวันที่ 3/14 ซึ่งแสดงถึงค่าพาย (π) ที่มีค่าเริ่มต้นคือ 3.14 นั่นเอง
นอกจากนี้ วันที่ 14 มีนาคมยังเป็น วันเกิดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” (Albert Einstein) อีกด้วย จึงเป็นวันที่มีความสำคัญทั้งทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
พาย (π) คืออะไร?
พาย (π) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่ใช้แทนอัตราส่วนระหว่าง ความยาวเส้นรอบวงของวงกลมต่อความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม โดยมีค่าประมาณเท่ากับ 3.14 และเป็น จำนวนอตรรกยะ (irrational number) หมายความว่าเป็นเลขทศนิยมไม่รู้จบและไม่ซ้ำกัน เช่น 3.1415926535… เป็นต้น ซึ่ง ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับค่าพาย
- พายเป็นเลขทศนิยมที่ไม่มีจุดจบ และใน ตำแหน่งที่ 762 มีตัวเลข 9 เรียงติดกันถึง 6 ตัว ถือเป็นความน่าสนใจของค่าพายที่ทำให้นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกหลงใหล
- สถิติโลกในการท่องจำค่าทศนิยมของพายได้มากที่สุดคือ 70,030 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้สมาธิและความจำขั้นสูงมาก
ประวัติของสัญลักษณ์ π
คนแรกที่นำ สัญลักษณ์ π มาใช้คือ วิลเลียม โจนส์ (William Jones) นักคณิตศาสตร์ชาวเวลส์ในปี 1706 ซึ่งภายหลังได้รับการสนับสนุนจากนักคณิตศาสตร์ชื่อดังอย่าง เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler) ทำให้การใช้ π แพร่หลายไปทั่วโลก
การเฉลิมฉลองค่าพาย
การเฉลิมฉลองค่าคงตัวพายครั้งแรกเริ่มต้นที่ ซานฟรานซิสโก (San Francisco) ในปี 1988 โดยแลร์รี่ ชอว์ (Larry Shaw) นักฟิสิกส์ผู้หลงใหลในค่าพาย ได้จัดกิจกรรมเดินเป็นวงกลมและรับประทานพาย (pie) เพื่อเฉลิมฉลอง
พายในการคำนวณรูปทรงเรขาคณิต
ค่าพายถูกใช้ในการคำนวณพื้นที่และปริมาตรของรูปทรงหลายชนิด เช่น ทรงกระบอก และ กรวย แต่จะ ไม่สามารถใช้ค่าพายในรูปทรงปริซึม (prism) ได้ เพราะรูปทรงนี้ไม่มีองค์ประกอบของวงกลม
Note: โปรดอ่านก่อนเริ่มทำแบบทดสอบ
จำกัด Google User เพียงละครั้งเท่านั้น
วันนี้ก็จบไปแล้วอีกหนึ่งบทความดี ๆ จากพี่แอดมิน โดยเว็บไซต์ของพี่แอดมินยังมีเกียรติบัตรออนไลน์ฟรี ๆ อีกมากมาย หลากหลายวิชา เช่น ข้อสอบสอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ให้ได้ทดสอบระดับความรู้ตัวเองกัน พร้อมทั้ง ข้อสอบวัดระดับความรู้ เพื่อช่วยให้น้อง ๆ ทดลองประเมินทักษะในแต่ละวิชาที่ตัวเองชอบได้ ข้อสอบมีตั้งแต่ระดับ ม.ปลาย ไปจนถึงมหาลัยเลยนะ และยังมีการอบรมออนไลน์ ผ่าน E-learning คอร์สเรียนออนไลน์ เท็มเพลตหน้าปก Portfolio สวย ๆ ไว้ให้น้อง ม.ปลายดาวน์โหลดไปใช้งานในการยื่นพอร์ตฯ TCAS การเรียนสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วยนะ สามารถเลือกดูได้ที่แถบเมนูด้านบน หรือด้านข้างซ้ายบนในโทรศัพท์มือของน้อง ๆ โดยเกียรติบัตรออนไลน์จะมีมาจากหลายหน่วยงานทั้ง กศน มหาวิทยาลัยชั้นนำ และหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ทางพี่แอดมินจะอัพเดตเกียรติบัตรใหม่ เข้ามาในทุก ๆ วันเพื่อให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา สุดท้ายพี่แอดมินขอขอบคุณน้อง ๆ ที่ให้ความสนใจในเว็บไซต์และบทความของพี่แอดมินครับ หากมีข้อแนะนำใด ๆ อย่าลังเลที่จะแจ้งพี่แอดมินนะ สวัสดีครับ