อยากเรียนต่อสายวิทย์ทำไม Portfolio ถึงสำคัญ?
Portfolio ถือเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยให้คณะกรรมการเห็นความสามารถและความตั้งใจของเรา แต่จะทำยังไงให้พอร์ตดูดี น่าสนใจ และตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการ?

บทความนี้พี่แอดมินจะช่วยแนะนำว่า Portfolio สายวิทยาศาสตร์ควรมีอะไรบ้าง รวมถึงเคล็ดลับในการจัดเรียงข้อมูลให้เด่น อ่านง่าย และสร้างความประทับใจ การทำ Portfolio สำหรับยื่นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ ควรมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นสำคัญตามนี้เลย
1. ปกและข้อมูลส่วนตัว
- ชื่อ-นามสกุล
- รูปถ่ายที่เหมาะสมใชัทำปก หรือตกแต่งในเล่ม
- รายละเอียดการติดต่อ (เบอร์โทร, อีเมล)
- คติประจำใจ หรือเป้าหมายทางการศึกษา เช่น
- ความสงสัยคือจุดเริ่มต้นของความรู้
- อย่าหยุดตั้งคำถาม เพราะทุกคำถามนำไปสู่การค้นพบใหม่
- เรียนรู้จากธรรมชาติ เพราะมันคือห้องทดลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
- วิทยาศาสตร์ไม่ได้มีไว้เพื่อเชื่อ แต่มีไว้เพื่อพิสูจน์
2. ประวัติการศึกษา
- ชื่อโรงเรียนที่ศึกษา
- เกรดเฉลี่ย (GPA)
- วิชาเลือกที่เกี่ยวข้องกับสายวิทยาศาสตร์ (เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิตศาสตร์)
3. กิจกรรมและผลงานทางวิชาการ
เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสายวิทยาศาสตร์ เช่น
- โครงงานวิทยาศาสตร์ (เช่น งานวิจัยเล็ก ๆ, โครงงานแข่งขัน)
- การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ (เช่น ค่ายของ สสวท., ค่ายโอลิมปิกวิชาการ)
- การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง (เช่น การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ, การประกวดโครงงาน)
- การอบรมหรือเวิร์กชอปที่เสริมความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
** รีบเก็บสะสมผลงานกันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ จะได้มีผลงานดี ๆ ไว้โชว์ให้กรรมการได้ดูกัน
4. ทักษะและความสามารถพิเศษ
- ทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้โปรแกรมคำนวณ, การทดลอง
- ทักษะการเขียนโค้ด (ถ้ามี) เช่น Python, MATLAB
- ทักษะการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์
5. ใบประกาศนียบัตร (เกียรติบัตร)
- เกียรติบัตรจากการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์
- ใบประกาศนียบัตรจากการอบรมค่ายวิทยาศาสตร์ หรือหลักสูตรออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง
- ใบรับรองการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- เกียรติบัตรออนไลน์ ที่มาจากการทำแบบทดสอบออนไลน์จากหน่วยงานต่าง ๆ
6. แนะนำตัวและแรงบันดาลใจ
- อธิบายว่าเหตุใดจึงต้องการศึกษาต่อในสายวิทยาศาสตร์
- เป้าหมายในอนาคต เช่น อยากเป็นนักวิจัย วิศวกร นักวิเคราะห์ข้อมูล
7. งานอดิเรกและกิจกรรมอื่น ๆ
แม้จะเป็นสายวิทยาศาสตร์ แต่กิจกรรมอื่น ๆ ก็ช่วยเสริมภาพลักษณ์ เช่น
- การเข้าร่วมชมรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หุ่นยนต์
- งานจิตอาสาหรือโครงการเพื่อสังคม
8. เรื่องอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมความน่าสนใจ
- ลิงก์ผลงาน เช่น เว็บไซต์ที่เคยสร้าง โครงงานที่เผยแพร่
- ผลงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ หรือบทความ
เคล็ดลับในการทำ Portfolio ให้โดดเด่น
- ใช้ดีไซน์ที่สะอาด อ่านง่าย ไม่เยอะเกินไป
- จัดเรียงข้อมูลให้มีลำดับที่ดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย
- ใช้ภาพถ่ายหรือ Infographic เพื่อเสริมให้ดูน่าสนใจ
- เน้นจุดแข็งของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความสามารถ
โดยในบทความต่อ ๆ ไปพี่แอดมินจะทำไฟล์ Canva สำหรับไว้ทำเป็นปก Portfolio มาแจกฟรี ๆ นะครับ รอติดตามกันได้เลยนะ
วันนี้ก็จบไปแล้วอีกหนึ่งบทความดี ๆ จากพี่แอดมิน โดยเว็บไซต์ของพี่แอดมินยังมีเกียรติบัตรออนไลน์ฟรี ๆ อีกมากมาย หลากหลายวิชา เช่น ข้อสอบสอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ให้ได้ทดสอบระดับความรู้ตัวเองกัน พร้อมทั้ง ข้อสอบวัดระดับความรู้ เพื่อช่วยให้น้อง ๆ ทดลองประเมินทักษะในแต่ละวิชาที่ตัวเองชอบได้ ข้อสอบมีตั้งแต่ระดับ ม.ปลาย ไปจนถึงมหาลัยเลยนะ และยังมีการอบรมออนไลน์ ผ่าน E-learning คอร์สเรียนออนไลน์ เท็มเพลตหน้าปก Portfolio สวย ๆ ไว้ให้น้อง ม.ปลายดาวน์โหลดไปใช้งานในการยื่นพอร์ตฯ TCAS การเรียนสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และยังมีสาระน่ารู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วยนะ สามารถเลือกดูได้ที่แถบเมนูด้านบน หรือด้านข้างซ้ายบนในโทรศัพท์มือของน้อง ๆ โดยเกียรติบัตรออนไลน์จะมีมาจากหลายหน่วยงานทั้ง กศน มหาวิทยาลัยชั้นนำ และหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ทางพี่แอดมินจะอัพเดตเกียรติบัตรใหม่ เข้ามาในทุก ๆ วันเพื่อให้ทันเหตุการณ์ตลอดเวลา สุดท้ายพี่แอดมินขอขอบคุณน้อง ๆ ที่ให้ความสนใจในเว็บไซต์และบทความของพี่แอดมินครับ หากมีข้อแนะนำใด ๆ อย่าลังเลที่จะแจ้งพี่แอดมินนะ สวัสดีครับ